ESG Trends (Environmental, Social, Governance Trends)

Raveeporn Meesaengtham
February 9, 2022
Trend

ในปี 2021 ที่ผ่านมา เรื่องของความยั่งยืนยังคงเป็นกระแสที่ผู้คนในโลกให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง และในปี 2022 นี้หลายองค์กรรัฐและธุรกิจเอกชนยักษ์ใหญ่เริ่มหันมาจริงจังกับแนวทางการปฏิบัติขององค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในบทความนี้จะรวบรวมแหล่งข้อมูลจากองค์กรน่าเชื่อถือมาสรุปให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นในมุมมองของบุคคลทั่วไปอย่างเรา ว่าจะได้รับผลกระทบจากกระแสความยั่งยืนนี้อย่างไร ซึ่งภาพองค์รวมของเทรนนี้จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงทิศทางความก้าวหน้าด้านความยั่งยืนในปีนี้นั่นเอง


สภาพอากาศท่ามกลางความเท่าเทียมกัน

ผลกระทบครั้งใหม่จากองค์กรยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon

การที่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ออกมาประกาศตนว่าจะเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติและการผลิตสินค้าเป็น Net Zero Emission ซึ่งอันที่จริงแล้ว หมายถึงก๊าซเรือนกระจกบางส่วนยังคงถูกปล่อยออกมาในชั้นบรรยากาศ แต่สิ่งเหล่านี้สามารถชดเชยได้ด้วยการกำจัดก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่เท่ากันออกจากชั้นบรรยากาศและกักเก็บไว้ในดิน พืช หรือวัสดุอย่างถาวร

ซึ่งแตกต่างจาก Zero Emission จะเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์หรือก็คือ ไม่มีคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ไม่มีก๊าซมีเทน, ไม่มีไนตรัสออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ซึ่งการออกมาประกาศตนว่าจะเป็นองค์กร Net Zero Emission ของ Amazon ส่งผลให้ผู้ผลิต (Supplier) ในตลาดเทคโนโลยีได้รับผลกระทบทางตรงในการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) รวมไปถึงทำให้บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีอย่าง Apple, Samsung, HP, Lenovo, Dell ออกมาประกาศตนเองเป็นองค์กร Net Zero Emission ด้วยเช่นกัน

เรียกได้ว่าเป็นการผลักดันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเดียวกันไปในทิศทางที่ยั่งยืนขึ้น ทั้งด้านการลดต้นทุนการผลิตจากบรรจุภัณฑ์สินค้าและการลดกระบวนการการผลิตที่ไม่จำเป็น จึงทำให้สหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่า ในทศวรรษหน้ามีความเป็นไปได้ที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีจะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์และทั่วโลกภายในปี 2593 ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต

ภาคเอกชนภายใต้การตรวจสอบของสาธารณะ

นักวิจารณ์ได้กล่าวถึงภาคเอกชนว่าบริษัทเอกชนเป็นภาคที่ตรวจสอบและควบคุมไปในทิศทางเดียวกันได้ยาก ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าภาคเอกชนมีส่วนในการปล่อยพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลจำพวกถ่านหิน น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติจึงทำให้ในปีนี้ตัวภาคเอกชนเองจำเป็นต้องเริ่มเข้มงวดกับการตรวจสอบเรื่องนี้มากขึ้นรวมไปถึงบริษัทเอกชนเหล่านี้จะได้รับการตรวจสอบจากสาธารณะเช่นกัน เพื่อสร้างแนวทางการแก้ไขและมาตราฐานขึ้นในอนาคต

การพิจารณาถอนเงินลงทุนจากพลังงานถ่านหิน

มื่อประเทศสหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย อินเดีย และออสเตรเลียยังคงเป็นประเทศที่พึ่งพาพลังงานจากถ่านหินเป็นหลัก จึงทำให้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปี 2016 กับ ปี 2021 พบว่าประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะลดการใช้งานลงเพียง 7% เท่านั้นจึงทำให้ต้องเกิดการปรึกษาหารือกันเพื่อหาแนวทางการปฏิบัติร่วมกันในหมู่ห้าประเทศที่ใช้พลังงานถ่านหินจำนวนมาก อาทิเช่น การถอนเงินลงทุนจากอุตหสากรรมนี้และใช้พลังงานทางเลือกอื่นเข้ามาทดแทน

ไม่มีโลกที่สองหรือโลกสำรอง: การหาเงินลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ

มีหลากหลายผู้นำประเทศได้ออกมาพูดเกี่ยวกับเรื่องของ No planet B หรือการไม่มีโลกสำรอง ทำให้หลายประเทศเริ่มสนใจเรื่องการระดุมทุนก้อนใหญ่เพื่อปรับเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศโลกให้ห่างไกลภาวะโลกรวน (Climate Change) ซึ่งได้แก่ การบรรเทาอุทกภัยไปจนถึงการปรับปรุงการสร้างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ


หลักการทำงานของ ESG (Environmental, Social, Governance)

การฟอกเขียว (Greenwashing) ลดลง

หลังจากมีบริษัทที่ทำธุรกิจอย่างคำนึงถึง ESG เกิดขึ้นมา ทำให้การฟอกเขียว (Greenwashing) หรือกล่าวคือการทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดหรือการหลอกลวงผ่านการโฆษณาสินค้าหรือตัวองค์กรเองว่ามีส่วนช่วยรับผิดชอบต่อสังคมในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการมีกฎเกณฑ์อย่าง ESG เข้ามาช่วยนั้นสามารถสร้างมาตราฐานของความยั่งยืนที่มีตัวชี้วัดและแนวทางการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันทั่วโลก

ทางแยกของกฎเกณฑ์: ร่วมกันหรือแยกออกจากกัน

หลังจากที่หลายประเทศเริ่มหันมาสนใจเรื่องความยั่งยืนมากขึ้นแต่ยังไม่มีข้อบ่งชี้ถึงความมีมาตราฐานสากลในด้านแนวทางการปฏิบัติซึ่งปัญหาของข้อกำหนดที่แตกต่างกันนี้พบมากที่สหรัฐอเมริกาและแคนาดาจึงเกิดการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ ESG ขึ้น นั่นคือการสร้างมาตราฐานเดียวกันเพื่อให้สามารถชี้วัดผลได้อย่างมีแบบแผน จึงเกิดการวิเคราะห์เบื้องต้นที่จะคัดเลือกหน่วยงานในเขตอำนาจศาลตาม 5 ด้านได้แก่ เป้าหมายการรายงาน; วัตถุประสงค์ สาระสำคัญ ความเข้มงวด; และความสม่ำเสมอของการรายงาน

ซึ่งตัวอย่างของมาตราฐานสากลESG ก็ได้ออกมาในฉบับร่างแล้ว แบ่งเป็นหลัก 3 ประการได้แก่ การกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเชิงตัวเลข มิใช่เพียงคำอธิบาย, กำหนดให้ระบุการเปิดเผยข้อมูลดิบ เช่น จำนวนพนักงานในองค์กร การปล่อยมลพิษและที่ตั้งของสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆหรือก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้า, กำหนดขั้นต่ำในการเปิดเผยข้อมูลหลักเพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมและไม่สอดคล้องกัน

การจัดอันดับ ESG ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

เป็นนัยสำคัญ เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate Change) ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินหรือระบบเศรษฐกิจองค์รวม ทั้งในด้านของผลกระทบทางตรงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Physical Risk) เช่นการเกิดภัยภิบัติและทำให้ตลาดการท่องเที่ยวชะงักตัว รวมไปถึงความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบจากการออกกฎระเบียบทางการเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม (Transition Risk) เช่น ผลกระทบต่อธุรกิจพลังงานถ่านหินจากการออกนโยบายลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล จึงสรุปได้ว่าการจัดอันดับ ESG ให้อยู่ถูกตำแหน่งจะช่วยเกื้อหนุนระบบเศรษฐกิจ


ความเสี่ยงและโอกาสที่จะเกิดขึ้น

ความหลากหลายทางชีวภาพและอนาคตของอาหาร

ระบบการผลิตและกำจัดอาหารทั่วโลกมีความสัดส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 1 ใน 3 ของก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก และทำลายธรรมชาติมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ดังนั้นหากเราไม่เลือกที่จะแก้ไขวิธีการผลิตหรือพฤติกรรมการกิน ธรรมชาติจะปรับเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้เองและความหลากหลายทางชีวภาพจะลดลงตามไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น เมล็ดกาแฟในบราซิลซึ่งในปีที่ผ่านมาบราซิลเผชิญภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบศตวรรษ ทำให้ยากต่อการเก็บเกี่ยวกาแฟและราคากาแฟสูงขึ้นนั่นเอง ตัวอย่างดังกล่าวทำให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างพฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์กับการตอบสนองของธรรมชาติ

วิกฤตการณ์ทางด้านสุขภาพจากแบคทีเรียที่เพิ่มขึ้น

เราเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19มาเกือบ 3 ปีซึ่งโรคระบาดนี้พรากชีวิตคนไปมากกว่า 5 ล้านกว่าชีวิตทั่วโลก อีกทั้ง MSCI ยังคาดการณ์ว่าในปี 2050 จะมีประชากรโลกล้มตายจากโรคระบาดหรือแบคทีเรียจำนวน 10 ล้านคนต่อปี เพื่อรับมือกับการต่อสู้นี้ภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องมีการลงทุนครั้งใหญ่ในธุรกิจใหม่ที่จะสร้างยาปฎิชีวะนะและพัฒนาด้านเกษตรกรรมมากขึ้นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยทางด้านสุขภาพให้แก่ประชากรทั่วโลก

การจัดหาเงินทุนสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรม:ค้นหาศูนย์กลางของความต้องการและการลงทุน

เนื่องจากแต่ละประเทศมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ต่างกันจึงทำให้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศแตกต่างกันไป ในทางกลับกัน การจะฟื้นฟูหรือทำให้สภาพอากาศของโลกกลับมาเป็นปกตินั้น มีความยากต่างกันตามแต่ละประเทศและใช้งบประมาณไม่เท่ากันด้วย เช่น ในประเทศเนเธอร์แลนมีสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลค่อนข้างมาก จึงทำให้ต้องใช้เวลาและทุนในการต่อสู้กับภาวะโลกรวนมากกว่าประเทศอื่นๆอย่างสเปนหรือเยอรมัน


สรุปได้ว่าในปี 2022 นี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของเทรนความยั่งยืนของโลกไปในทางที่เพิ่มมาตราฐานและแบบแผนให้เหมือนกันทั่วโลก มุ่งเน้นให้เปิดเผยข้อมูลมากขึ้นเพื่อให้รู้ทั่วกันและสามารถวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ไขร่วมกันได้ เริ่มมีการระดมทุนเกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสีเขียวโดยการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าและพยายามเปลี่ยนจากพลังงานฟอสซิลไปใช้พลังงานสะอาดอื่นๆแทน ในส่วนของนวัตกรรมเรื่องของอาหารและยาก็เป็นธุรกิจใหม่ที่นักลงทุนหันมาให้ความสนใจมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและมีความสอดคล้องกับ Health and Wellness Trends อีกด้วย

All Group Design and Research co.,ltd.

Bangkok,Thailand

Tel : 0884715958

Email : allscheme.design@gmail.com